หลังจากที่ภาครัฐมีการพิจารณาอนุมัติโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2568/69 โดยจะจ่ายเงินช่วยเหลือไร่ละ 1,200 บาท (ไม่เกิน 10 ไร่ต่อครัวเรือน) บ้านหนองหิน ม.4 ตำบลโคกก่อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เพื่อติดตามเสียงสะท้อนจากชาวนาในพื้นที่จริง
หนึ่งในเกษตรกรที่ให้ข้อมูลคือ นางจิราภรณ์ อินทะสร้อย ประธานกลุ่มข้าววิสาหกิจชุมชนปลูกข้าวอินทรีย์บ้านหนองหิน ซึ่งมีสมาชิกในกลุ่ม 47 คน และรวมพื้นที่ทำนาประมาณ 50 ไร่ โดยปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์เป็นหลัก
นางจิราภรณ์ เปิดเผยว่า กลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวอินทรีย์ต้องหาตลาดขายเอง ส่วนใหญ่จะจำหน่ายผ่านโครงการเกษตรอินทรีย์ โดยข้าวหอมมะลิ 105 ขายได้กิโลกรัมละ 20 บาท ข้าวหอมนิลมะลิแดงอยู่ที่กิโลกรัมละ 25 บาท แต่ต้นทุนที่ต้องแบกรับยังสูง
เช่น ลงทุนต่อไร่ประมาณ 2,800–3,500 บาท
ค่าจ้างไถดะไร่ละ 200-250 บาท
ค่าหว่าน + ไถกลบตอซัง ไร่ละ 750 บาท
หากใช้ปุ๋ยเคมี ราคากระสอบละ 1,000 บาท
เมื่อเปรียบเทียบกับเงินช่วยเหลือของรัฐที่ไร่ละ 1,200 บาท นางจิราภรณ์กล่าวว่า ไม่พอแน่นอน แต่ก็ถือว่าดีกว่าที่ไม่ช่วยเลย เพราะเงินก้อนนี้ยังพอช่วยจุนเจือต้นทุนพื้นฐาน เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย หรือค่าแรงต่าง ๆ ได้บ้าง
แม้จะรู้สึกดีใจที่รัฐบาลไม่ทอดทิ้งเกษตรกร แต่นางจิราภรณ์เสนอแนะว่า หากรัฐสามารถปรับเพิ่มเงินช่วยเหลือเป็น ไร่ละ 1,500 บาท โดยยังคงจำกัดไม่เกิน 10 ไร่ต่อครัวเรือน ก็จะยิ่งเป็นแรงส่งสำคัญให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพได้อย่างมั่นคง และลดภาระหนี้สินที่สะสมอยู่
สำหรับราคาขายข้าวในท้องตลาด หากขายให้โรงสีทั่วไป จะอยู่ที่ <;13 บาท/กิโลกรัม เท่านั้น และนาน ๆ ทีถึงจะได้ถึง 15 บาท ซึ่งไม่ครอบคลุมต้นทุนที่ต้องลงทุนลงแรงไปแต่ละฤดูกาล เสียงจากชาวนาคือเสียงจากดินจริง ๆ และแม้มาตรการรัฐอาจยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด แต่ก็เป็นก้าวหนึ่งที่เกษตรกรอยากให้พัฒนาและต่อยอด เพื่อรักษาอาชีพสำคัญของประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างยั่งยืน